วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

การใช้ประโยชน์

การใช้ประโยชน์
  1. เมล็ดทานตะวัน นำมาคั่วให้แห้งใช้รับประทานเป็นอาหารว่างได้[2] หรือจะนำมาอบหรือใช้ปรุงแต่งขนมหวาน เป็นคุกกี้ทานตะวัน ทานตะวันแผ่น หรือใช้ทำเป็นแป้งประกอบอาหารก็ได้[8],[13] อีกทั้งเมล็ดยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ใช้แทนเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี และเมื่อนำมาบดจะได้แป้งสีขาว มีไขมันสูงและมีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณแป้ง นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็กสูงไม่แพ้ธาตุเหล็กที่ได้จากไข่แดงหรือตับของสัตว์อีกด้วย จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ (การเลือดเมล็ดทานตะวัน ต้องเลือกที่ยังใหม่ ๆ และไม่มีกลิ่นเหม็นหืน โดยสังเกตได้จากเปลือกหุ้มเมล็ดจะต้องมีสีเทา ไม่เป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล)[10] ว่ากันว่าหากใช้เมล็ดทานตะวันในการเลี้ยงไก่ จะช่วยทำให้แม่ไก่ออกไข่มาก[12]
  2. เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยประกอบไปด้วยโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส อีกทั้งยังวิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินอี และวิตามินเค โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินอีจะมีมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ (มากกว่าเมล็ดถั่วเหลืองและเมล็ดข้าวโพดกว่า 3 เท่า) โดยประโยชน์ของวิตามินอีนั้นจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาผิวพรรณให้แลดูสดใส เยาว์วัย ช่วยทำให้ระบบสืบพันธุ์เป็นปกติ ช่วยลดไขมันในหลอดเลือด ช่วยป้องกันหัวใจวาย ช่วยบำรุงสายตา และยังอาจช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกด้วยก็เป็นได้ (พ.ญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต)[9] นอกจากนี้เมล็ดทานตะวันยังช่วยป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น และช่วยป้องกันและต่อต้านสารเคมีที่เป็นพิษที่จะก่อให้เกิดมะเร็งในปาก[14]
  3. เมล็ดทานตะวันสามารถนำมาเพาะเป็นทานตะวันอ่อน (ต้นอ่อนทานตะวัน) หรือทานตะวันงอก (เมล็ดทานตะวันงอก) มีรสหวานกรอบ โดยสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ยำต้นอ่อนทานตะวัน สลัดต้นอ่อนทานตะวัน ผัดน้ำมันหอย แกงจืด แกงส้ม ใช้ใส่ในก๋วยเตี๋ยวแทนถั่วงอก หรือทำเป็นผักจิ้มน้ำพริกก็ยังได้ ฯลฯ หรือจะนำมาปั่นเป็นน้ำผักดื่ม ก็จะได้น้ำผักที่มีสีเขียวเข้มและมีกลิ่นหอม (แต่ควรดื่มตอนท่องว่าง ก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง ก็จะได้ประโยชน์มาก) โดยเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและยังมีประโยชน์ที่ไม่ธรรมดา โดยจากการศึกษาวิจัยพบว่า ต้นอ่อนของเมล็ดทานตะวันมีโปรตีนมากกว่าถั่วเหลือง มีวิตามินเอ และวิตามินอีสูง จึงช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ ช่วยในการชะลอวัย มีวิตามินบี1 วิตามินบี6 โอเมก้า3 โอเมก้า6 โอเมก้า9 ที่ช่วยบำรุงเซลล์สมองและช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และยังมีธาตุเหล็กสูง และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย[11]
  4. น้ำมันทานตะวัน หรือ น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้ เช่น การนำมาผัด หรือนำมาปรุงน้ำสลัด มีบางส่วนที่นำมาใช้บริโภคเป็นน้ำมันและเครื่องสำอาง[2]
  5. น้ำมันจากเมล็ดทานตะวันเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพสูง โดยมีน้ำมันไม่อิ่มตัวสูงกว่าร้อยละ 90 ซึ่งร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ (ช่วยลดคอเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง) และยังประกอบไปด้วยวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเคอีกด้วย เมื่อเก็บไว้เป็นเวลานานก็ไม่เกิดกลิ่นหืน อีกทั้งยังทำให้สีกลิ่นและรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะนำมาใช้เป็นน้ำมันพืชแล้ว ยังนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ทำเนยเทียม น้ำมันสลัด ครีม นมที่มีไขมัน และอาหารอีกหลายชนิด นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสี ฟอกสี ทำสบู่ น้ำมันชักเงา น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ทำฟิล์ม ใช้ในการฟอกหนัง เคลือบผิวผลไม้ในลักษณะขี้ผึ้ง เช่น การทำเทียนไข หรือเครื่องสำอาง[5],[8],[7],[10],[13],[14] บ้างใช้เป็นน้ำมันนวด หรือใช้เป็นส่วนผสมของครีมนวดผม หรือผสมในโลชั่นบำรุงผิว (เนื่องจากมีวิตามินอีสูง)
  6. กากจากเมล็ดทานตะวันหลังการสกัดเอาน้ำมัน จะมีโปรตีนอยู่ประมาณ 30-40% สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้ และยังใช้เป็นแหล่งแคลเซียมสำหรับปศุสัตว์ได้เป็นอย่างดี แต่จะมีปริมาณของกรดอะมิโนอยู่เพียงเล็กน้อย และขาดไลซีน จึงต้องนำมาใช้อย่างรอบคอบ เมื่อจะนำไปผสมเป็นอาหารสัตว์ที่มิใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง[5],[10]นำมาใช้ทำ Lecithin เพื่อใช้ในทางการแพทย์ในการช่วยลดคอเลสเตอรอลในคนไข้ที่มีคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด[14]
  7. รากของต้นทานตะวัน สามารถนำมาใช้ทำเป็นแป้งเค้ก สปาเก็ตตี้ได้ อีกทั้งรากยังมีวิตามินบี1 และแร่ธาตุอีกหลายชนิด อีกทั้งแพทย์ยังแนะนำให้ใช้รากของต้นทานตะวันประกอบอาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอีกด้วย[10]
  8. คนจีนจะนิยมใช้ใบทานตะวันแห้งมามวนเป็นแท่งขนาดใหญ่ แล้วนำมาจุดเพื่อรมให้จุดฝังเข็มร้อนขึ้น ซึ่งเป็นการรักษาแบบฝังเข็มแบบประยุกต์ โดยมีการใช้มานานเกือบพันปีแล้ว แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้โกฐจุฬาลัมพามามวนเป็นยารมมากกว่า[12]
  9. กลีบดอกสามารถนำมาต้มแล้วใช้ย้อมสีผ้าได้ โดยจะให้สีเหลือง[12]
  10. คนจีนจะใช้เส้นใยที่ได้จากก้านมาทอเพื่อใช้ทำเป็นผ้าเนื้อหยาบ[12]
  11. เปลือกของลำต้นทานตะวัน มีลักษณะคล้ายเยื่อไม้ จึงนำมาใช้ทำกระดาษสีขาวที่มีคุณภาพดีได้[10]
  12. ลำต้นหรือจานดอกเมื่อนำไปเผาให้เป็นขี้เถ้าแล้วสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมการหลอมเหล็กได้[13]
  13. ลำต้นยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้ อีกทั้งเมื่อทำการไถกลบก็จะกลายเป็นปุ๋ยที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินได้เป็นอย่างดี[10],[13] หรือจะนำทุกส่วนของต้นทานตะวันที่แห้งแล้ว นำไปเผาก็จะกลายเป็นปุ๋ยโพแทสเซียมที่ใช้ในการเกษตรได้[12]
  14. ทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการช่วยฟื้นฟูดิน เพราะต้นทานตะวันสามารถสะสมสารตะกั่วได้ 0.86 mg./kg. เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์ และยังช่วยส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg./kg.[7]
  15. เนื่องจากดอกทานตะวันจะไม่ผสมเกสรในต้นเดียวกัน จึงต้องอาศัยผึ้งหรือแมลงบางชนิดนำละอองเกสรจากดอกอื่นมาช่วยในการผสมพันธุ์ จึงจะได้เมล็ดที่สมบูรณ์ เลยทำให้เกิดอาชีพเลี้ยงผึ้งควบคู่ไปกับการปลูกต้นทานตะวันไปด้วยในหลายท้องที่[5]
  16. ทานตะวันเป็นพรรณไม้ที่นิยมนำมาปลูกเป็นประดับ ส่วนดอกนำมาใช้จัดในงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานแต่ง หรือนำมาใช้จัดเป็นแจกันดอกไม้เพื่อความสวยงาม และยังนิยมนำไปใช้ในการเยี่ยมคนป่วย เพราะทำให้รู้สึกใส

น้ำมันดอกทานตะวัน

ที่มา http://frynn.com/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99/

ลักษณะนิสัยของคนที่ชอบดอกทานตะวัน

ลักษณะนิสัยของคนที่ชอบดอกทานตะวันที่สุด

เป็นคนเชื่อมั่นในตัวเองมาก และถือดีในความรู้ความสามารถของตนไม่น้อย ชอบพึ่งพาตัวเองมากกว่าคนอื่น เป็นคนตั้งเป้าหมายในชีวิตสูง

การปลูกและดูแลรักษาทานตะวัน

การปลูกและดูแลรักษา
ทานตะวันเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปานกลาง 

ฤดูปลูก
การปลูกทานตะวันควรปลูกปลายฤดูฝน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ด้วย  คือ ในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนเหนียวสีดำ  ควรปลูกระหว่างเดือน กันยายน-พฤศจิกายน  และในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนหรือดินร่วนทราย  ควรปลูกระหว่างเดือน ปลายสิงหาคมตุลาคม ในกรณีพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ สามารถปลูกในฤดูแล้งได้อีกครั้งหนึ่ง โดยปลูกระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

การเตรียมดิน
การเตรียมดินมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ผิวดินร่วนซุย  อากาศถ่ายเทได้สะดวก  และสามารถเก็บรักษาความชื้นได้ดีรวมทั้งเป็นการกำจัดวัชพืชในขั้นต้นอีกด้วย การไถเตรียมดิน  ควรทำเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ  ก่อนไถควรดายหญ้าให้เตียน หว่านปุ๋ยคอกอัตรา 1.5 กิโลกรัม/ไร่ แล้วทำการไถดะให้ลึกที่สุด หลังจากนั้นจึงทำการไถแปรให้พื้นที่เรียบสม่ำเสมอตลอดแปลง  ถ้าแปลงเป็นที่ลุ่มน้ำขังควรทำร่องระบายน้ำรอบแปลง












วิธีการปลูก
การปลูกทานตะวันให้ได้ผลดี  ควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี และมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง เพื่อให้ได้ต้นทานตะวันที่แข็งแรงสมบูรณ์และมีจำนวนต้นต่อไร่ที่เหมาะสม โดยปลูกทานตะวันขณะที่มีความชื้นในดินพอดี หยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 2-3 เมล็ด  ระยะระหว่างหลุม40 เซนติเมตร  ระยะระหว่างร่องหรือแถว75 เซนติเมตร  กลบดินหนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ให้แน่นพอสมควร  หลังจากปลูกได้แล้ว 5-10 วัน  ให้ตรวจดูความงอก  จำนวนต้นต่อไร่  รวมทั้งการปลูกซ่อม หลังจากนั้น 5-8 วัน  ทำการถอนแยกให้เหลือ 1 ต้น/หลุม โดยเลือกถอนต้นที่มีขนาดเล็กหรือผิดปกติกว่าต้นอื่น การปลูกในระยะดังกล่าว จะใช้เมล็ดพันธุ์ทานตะวันเพียง 0.8 กิโลกรัม/ไร่  และจะได้ต้นทานตะวันประมาณ 6,400-8,500  ต้น/ไร่

การใส่ปุ๋ย
ก่อนหยอดเมล็ดควรใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 หรือ 25-7-7 อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ อาจจะใช้ผงบอแร็กซ์ หรือโบรอน (B) อัตรา 2 กิโลกรัม/ไร่ ในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนทรายโดยหว่านให้ทั่วแปลงหรือผสมพร้อมปุ๋ยรองพื้น  เมื่อทานตะวันอายุ 25-30 วัน  ให้ทำรุ่นพูนโคนและกำจัดวัชพืชพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0  อัตรา 15-20  กิโลกรัม/ไร่  ห่างจากโคนต้น 20 เซนติเมตร (ระวังอย่าให้สัมผัสโดนใบ) เสร็จแล้วกลบปุ๋ยพูนโคนตามแถว



การกำจัดวัชพืช
ให้ใช้ยาคุมหญ้าประเภทอลาคลอร์  เมตลาคลอร์  อัตรา  300-400 ซีซี./ไร่  หรือ  7-8  ช้อนแกงต่อน้ำ 18-20 ลิตร  (ในกรณีใช้ถังโยกหรือมือฉีด) ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ดก่อนที่เมล็ดจะงอกหรือใช้แรงงานจากเครื่องจักร หรือคนทำรุ่นตามความจำเป็น

ข้อควรระวัง  ห้ามใช้ยาอาทราซีน.กับทานตะวันโดยเด็ดขาด


การเก็บเกี่ยว
เมื่อทานตะวันมีอายุได้  95-120  วัน  จานดอกจะเริ่มเปลี่ยนสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล  ให้เก็บเกี่ยวและตากแดดให้แห้ง 1-2 แดดก่อน แล้วจึงนวดโดยใช้เครื่องนวดถั่วเหลืองหรือถั่วลิสง หรือใช้เครื่องสีข้าวฟ่างก็ได้แล้วแต่ความสะดวก ควรทำความสะอาดเมล็ดให้ดีและเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ป้องกันแดด กันฝน  และแมลงศัตรูได้  ความชื้นของเมล็ดที่จะเก็บไว้ควรไม่เกิน 10%

โรคและแมลงศัตรูทานตะวัน
ในประเทศไทย ปัญหาโรคและแมลงศัตรูของทานตะวันพบน้อยแต่บางครั้งอาจมีปัญหาต่างๆ ดังนี้
ปัญหาเรื่องเมล็ดเน่าเสียหาย  เนื่องจากทานตะวันดอกค่อนข้างใหญ่  เมื่อเวลาเมล็ดแก่ จานดอกจะห้อยลง  และด้านหลังของจานดอกเป็นแอ่งเหมือนกระทะก้นแบน  เมื่อมีฝนตก น้ำฝนจะขังอยู่ในที่ดังกล่าว  ทำให้เกิดการเน่าขึ้นเป็นส่วนมากและเมล็ดเสียหาย  ป้องกันโดยการปลูกทานตะวันปลายฤดูฝน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-มกราคม  โดยที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนพฤศจิกายน, ธันวาคม, มกราคม, กุมภาพันธ์  และมีนาคม  และช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวมีฝนน้อยทำให้ได้เมล็ดทานตะวันมีคุณภาพดี

แมลงที่สำคัญ  ได้แก่
ผีเสื้อกลางคืน > มักเข้าทำลายเมื่อทานตะวันดอกบาน ป้องกันโดยใช้ยาฟูราดาน F4, ไพดริน
เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว และแมลงมวนเขียวข้าว > มักเข้าทำลายเมื่อทานตะวันอายุได้ 40-45  วัน  ป้องกันโดยใช้ยาอะโซดริน อัตรา 15 ซี.ซี./ไร่  น้ำ 20 ลิตร หรือใช้เซพวิน 3 ช้อนแกง/ไร่  น้ำ  20 ลิตร  ฉีดพ่น
การทำลายของนก > ป้องกันได้โดยการปลูกทานตะวันในฤดูฝน เนื่องจากอาหารในธรรมชาติของนกมีมาก  จึงไม่ทำลายทานตะวัน 

ที่มา http://alangcity.blogspot.com/2012/12/blog-post_29.html

พันธุ์ของทานตะวันในประเทศไทย

พันธุ์ของทานตะวัน

ทานตะวันมี 3 สายพันธุ์ พันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นพันธุ์เดิมที่ใช้ปลูก ซึ่งในดอกจะมีจำนวนเรณูที่ติดอยู่ที่ก้านชูเกสรตัวเมียน้อย ทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองต่ำ ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสมเกสร จึงจะทำให้ติดเมล็ด การปลูกจึงไม่ประสบผลสำเร็จเพราะได้เมล็ดลีบ ผลผลิตต่ำเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงช่วยผสมเกสร แต่ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมสามารถติดเมล็ดได้ดี โดยไม่ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร เพราะในดอกมีละอองเรณูที่ติดอยู่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่า จึงทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าสายพันธุ์ผสมเปิดปัจจุบันยังไม่มีการผลิตเมล็ดทานตะวันลูกผสมในประเทศไทย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ พันธุ์ไฮซัน 33 และพันธุ์เอส 101 ซึ่งมีลักษณะของจานดอกค่อนข้างใหญ่ กลีบดอกสีเหลืองสดใส และให้ปริมาณน้ำมันสูงสำหรับทานตะวันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในขณะนี้คือสายพันธุ์ลูกผสม




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
ทานตะวันลักษณะของลำต้นจะตรง สูงประมาณ 3-4 ฟุต แต่ถ้าปลูกในถิ่นที่มีอากาศเย็นอาจสูงได้ถึง 6 ฟุต ใบจะออกสลับกัน ลักษณะของใบกลมรีกว้างประมาณ 4-8 นิ้ว ยาว 1 ฟุต ขอบใบเป็นรอยจักฟันเลื่อย ปลายใบแหลม ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกบานเต็มที่โตประมาณ 5-10 นิ้ว มีสีเหลืองสด ตรงกลางดอกมีเกสรเป็นวงเกือบเท่าตัวดอก กลีบดอกบานแผ่เป็นวงกลมทำให้เกสรดอกเด่นชัดขึ้น 


ประวัติดอกทานตะวัน

ทานตะวัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Helianthus annuus 
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE 
ชื่อสามัญ Common Sunflower 
ชื่ออื่นๆ ทานตะวัน
ถิ่นกำเนิด อเมริกาตะวันตก ทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันในประเทศเม็กซิโกตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล

ตำนานดอกทานตะวัน
ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้ ที่งดงามมาก


ประวัติและข้อมูลทั่วไป 
ทานตะวันเป็นดอกไม้สีเหลือง ดอกใหญ่กว่าดอกรักเร่เป็นที่สะดุดตามากบางทีดอกจะใหญ่กว่าลำต้นเสียด้วยซ้ำ แทบจะไม่สมดุลกันเลย นิยมปลูกเป็นแปลง เป็นไม้ที่ปลูกง่ายและโตเร็ว เมื่อออกดอกแล้วดอกจะหันไปทางทิศตะวันออก เป็นการทานตะวัน ไม่หันไปทางทิศอื่น จึงได้ชื่อว่า ดอกทานตะวัน 
และเป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญพืชหนึ่ง น้ำมันที่ได้จากการสกัดจากเมล็ดทานตะวันจะมีคุณภาพสูง ที่ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เช่น กรดลิโนเลนิค หรือกรดลิโนเลอิค ที่จะช่วยลดโคเลสเตอร์รอลที่เป็นสาเหตุของโรคไขมัน อุดตันในเส้นเลือด นอกจากนี้น้ำมันจากทานตะวันยังประกอบด้วยวิตามิน เอ ดี อี และเคด้วย ผลผลิตส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น สหภาพโซเวียต อาร์เจนตินา และประเทศในแถบยุโรปตะวันออก สำหรับประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมให้มีการปลูกทานตะวันเป็นอาชีพเสริมมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับอุตสาหกรรมพืชน้ำมัน และความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ เพราะทานตะวันเป็นพืชที่มีอายุสั้นระบบรากลึก มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่าพืชอื่น ๆ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดลพบุรี เพชรบูรณ์ และสระบุรี ทานตะวันเป็นพืชที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพของเขตร้อนได้ดีพอสมควรไม่ไวต่อแสง สามารถออกดอกให้ผลได้ทุกสภาพช่วงแสง ปลูกได้ในบริเวณที่มีการปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง เมื่อทานตะวันตั้งตัวได้แล้ว จะมีความทนทานต่อสภาพแห้งและร้อนได้พอสมควร และจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อมีฝน นอกจากนี้ทานตะวันยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีกว่าข้าวโพด ข้าวฟ่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า ทานตะวันขึ้นได้กับดินหลายประเภท แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินที่มีผิวดินหนาและอุ้มความชื้นไว้ได้ดี สามารถทนต่อสภาพความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ตลอดจนสภาพดินเกลือและเป็นด่างจัดได้พอสมควร ซึ่งดินเหล่านี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมากในเขตแห้งแล้งทั่ว ๆ ไป 

ที่มา http://xn--12c1behkb1hwb5alg.blogspot.com/2013/02/helianthus-annuus.html
       https://sites.google.com/site/lightofthesunflower/home