วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

การใช้ประโยชน์

การใช้ประโยชน์
  1. เมล็ดทานตะวัน นำมาคั่วให้แห้งใช้รับประทานเป็นอาหารว่างได้[2] หรือจะนำมาอบหรือใช้ปรุงแต่งขนมหวาน เป็นคุกกี้ทานตะวัน ทานตะวันแผ่น หรือใช้ทำเป็นแป้งประกอบอาหารก็ได้[8],[13] อีกทั้งเมล็ดยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ใช้แทนเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี และเมื่อนำมาบดจะได้แป้งสีขาว มีไขมันสูงและมีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณแป้ง นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็กสูงไม่แพ้ธาตุเหล็กที่ได้จากไข่แดงหรือตับของสัตว์อีกด้วย จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ (การเลือดเมล็ดทานตะวัน ต้องเลือกที่ยังใหม่ ๆ และไม่มีกลิ่นเหม็นหืน โดยสังเกตได้จากเปลือกหุ้มเมล็ดจะต้องมีสีเทา ไม่เป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล)[10] ว่ากันว่าหากใช้เมล็ดทานตะวันในการเลี้ยงไก่ จะช่วยทำให้แม่ไก่ออกไข่มาก[12]
  2. เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยประกอบไปด้วยโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส อีกทั้งยังวิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินอี และวิตามินเค โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินอีจะมีมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ (มากกว่าเมล็ดถั่วเหลืองและเมล็ดข้าวโพดกว่า 3 เท่า) โดยประโยชน์ของวิตามินอีนั้นจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาผิวพรรณให้แลดูสดใส เยาว์วัย ช่วยทำให้ระบบสืบพันธุ์เป็นปกติ ช่วยลดไขมันในหลอดเลือด ช่วยป้องกันหัวใจวาย ช่วยบำรุงสายตา และยังอาจช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกด้วยก็เป็นได้ (พ.ญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต)[9] นอกจากนี้เมล็ดทานตะวันยังช่วยป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น และช่วยป้องกันและต่อต้านสารเคมีที่เป็นพิษที่จะก่อให้เกิดมะเร็งในปาก[14]
  3. เมล็ดทานตะวันสามารถนำมาเพาะเป็นทานตะวันอ่อน (ต้นอ่อนทานตะวัน) หรือทานตะวันงอก (เมล็ดทานตะวันงอก) มีรสหวานกรอบ โดยสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ยำต้นอ่อนทานตะวัน สลัดต้นอ่อนทานตะวัน ผัดน้ำมันหอย แกงจืด แกงส้ม ใช้ใส่ในก๋วยเตี๋ยวแทนถั่วงอก หรือทำเป็นผักจิ้มน้ำพริกก็ยังได้ ฯลฯ หรือจะนำมาปั่นเป็นน้ำผักดื่ม ก็จะได้น้ำผักที่มีสีเขียวเข้มและมีกลิ่นหอม (แต่ควรดื่มตอนท่องว่าง ก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง ก็จะได้ประโยชน์มาก) โดยเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและยังมีประโยชน์ที่ไม่ธรรมดา โดยจากการศึกษาวิจัยพบว่า ต้นอ่อนของเมล็ดทานตะวันมีโปรตีนมากกว่าถั่วเหลือง มีวิตามินเอ และวิตามินอีสูง จึงช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ ช่วยในการชะลอวัย มีวิตามินบี1 วิตามินบี6 โอเมก้า3 โอเมก้า6 โอเมก้า9 ที่ช่วยบำรุงเซลล์สมองและช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และยังมีธาตุเหล็กสูง และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย[11]
  4. น้ำมันทานตะวัน หรือ น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้ เช่น การนำมาผัด หรือนำมาปรุงน้ำสลัด มีบางส่วนที่นำมาใช้บริโภคเป็นน้ำมันและเครื่องสำอาง[2]
  5. น้ำมันจากเมล็ดทานตะวันเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพสูง โดยมีน้ำมันไม่อิ่มตัวสูงกว่าร้อยละ 90 ซึ่งร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ (ช่วยลดคอเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง) และยังประกอบไปด้วยวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเคอีกด้วย เมื่อเก็บไว้เป็นเวลานานก็ไม่เกิดกลิ่นหืน อีกทั้งยังทำให้สีกลิ่นและรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะนำมาใช้เป็นน้ำมันพืชแล้ว ยังนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ทำเนยเทียม น้ำมันสลัด ครีม นมที่มีไขมัน และอาหารอีกหลายชนิด นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสี ฟอกสี ทำสบู่ น้ำมันชักเงา น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ทำฟิล์ม ใช้ในการฟอกหนัง เคลือบผิวผลไม้ในลักษณะขี้ผึ้ง เช่น การทำเทียนไข หรือเครื่องสำอาง[5],[8],[7],[10],[13],[14] บ้างใช้เป็นน้ำมันนวด หรือใช้เป็นส่วนผสมของครีมนวดผม หรือผสมในโลชั่นบำรุงผิว (เนื่องจากมีวิตามินอีสูง)
  6. กากจากเมล็ดทานตะวันหลังการสกัดเอาน้ำมัน จะมีโปรตีนอยู่ประมาณ 30-40% สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้ และยังใช้เป็นแหล่งแคลเซียมสำหรับปศุสัตว์ได้เป็นอย่างดี แต่จะมีปริมาณของกรดอะมิโนอยู่เพียงเล็กน้อย และขาดไลซีน จึงต้องนำมาใช้อย่างรอบคอบ เมื่อจะนำไปผสมเป็นอาหารสัตว์ที่มิใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง[5],[10]นำมาใช้ทำ Lecithin เพื่อใช้ในทางการแพทย์ในการช่วยลดคอเลสเตอรอลในคนไข้ที่มีคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด[14]
  7. รากของต้นทานตะวัน สามารถนำมาใช้ทำเป็นแป้งเค้ก สปาเก็ตตี้ได้ อีกทั้งรากยังมีวิตามินบี1 และแร่ธาตุอีกหลายชนิด อีกทั้งแพทย์ยังแนะนำให้ใช้รากของต้นทานตะวันประกอบอาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอีกด้วย[10]
  8. คนจีนจะนิยมใช้ใบทานตะวันแห้งมามวนเป็นแท่งขนาดใหญ่ แล้วนำมาจุดเพื่อรมให้จุดฝังเข็มร้อนขึ้น ซึ่งเป็นการรักษาแบบฝังเข็มแบบประยุกต์ โดยมีการใช้มานานเกือบพันปีแล้ว แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้โกฐจุฬาลัมพามามวนเป็นยารมมากกว่า[12]
  9. กลีบดอกสามารถนำมาต้มแล้วใช้ย้อมสีผ้าได้ โดยจะให้สีเหลือง[12]
  10. คนจีนจะใช้เส้นใยที่ได้จากก้านมาทอเพื่อใช้ทำเป็นผ้าเนื้อหยาบ[12]
  11. เปลือกของลำต้นทานตะวัน มีลักษณะคล้ายเยื่อไม้ จึงนำมาใช้ทำกระดาษสีขาวที่มีคุณภาพดีได้[10]
  12. ลำต้นหรือจานดอกเมื่อนำไปเผาให้เป็นขี้เถ้าแล้วสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมการหลอมเหล็กได้[13]
  13. ลำต้นยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้ อีกทั้งเมื่อทำการไถกลบก็จะกลายเป็นปุ๋ยที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินได้เป็นอย่างดี[10],[13] หรือจะนำทุกส่วนของต้นทานตะวันที่แห้งแล้ว นำไปเผาก็จะกลายเป็นปุ๋ยโพแทสเซียมที่ใช้ในการเกษตรได้[12]
  14. ทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการช่วยฟื้นฟูดิน เพราะต้นทานตะวันสามารถสะสมสารตะกั่วได้ 0.86 mg./kg. เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์ และยังช่วยส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg./kg.[7]
  15. เนื่องจากดอกทานตะวันจะไม่ผสมเกสรในต้นเดียวกัน จึงต้องอาศัยผึ้งหรือแมลงบางชนิดนำละอองเกสรจากดอกอื่นมาช่วยในการผสมพันธุ์ จึงจะได้เมล็ดที่สมบูรณ์ เลยทำให้เกิดอาชีพเลี้ยงผึ้งควบคู่ไปกับการปลูกต้นทานตะวันไปด้วยในหลายท้องที่[5]
  16. ทานตะวันเป็นพรรณไม้ที่นิยมนำมาปลูกเป็นประดับ ส่วนดอกนำมาใช้จัดในงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานแต่ง หรือนำมาใช้จัดเป็นแจกันดอกไม้เพื่อความสวยงาม และยังนิยมนำไปใช้ในการเยี่ยมคนป่วย เพราะทำให้รู้สึกใส

น้ำมันดอกทานตะวัน

ที่มา http://frynn.com/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น